ข้อมูลจังหวัด

ไม่มีหมวดหมู่

   ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองรบทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก ทั้งที่จริงตรังเป็นชุมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้
            จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 828 กม. มีพื้นที่ประมาณ 4,941.439 ตร.กม. หรือประมาณ 3,088,399.375 ไร่

อาณาเขตของจังหวัดตรัง

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอควนขนุน อำเภอกงหรา และอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอคลองท่อม เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

คำขวัญของจังหวัดตรัง
ชาวตรังใจกว้าง   สร้างแต่ความดี

คำขวัญท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา  The city Of Phraya Rasda ;
ชาวประชาใจกว้าง  broad – hearted citizen ;
หมูย่างรสเลิศ  delicious roast pork ;
ถิ่นกำเนิดยางพารา  origin place of para rubber ;
เด่นสง่าดอกศรีตรัง  lovely Sri Trang flower ;
ประการังใต้ทะเล  beautiful coral reel ;
เสน่ห์หาดทรายงาม  chamming sandy beach;
น้ำตกสวยตระการตา  and wonderful waterfalls.

        ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง ขึ้นอยู่กับพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา ถ้าปีใดยางพารามีราคาสูง เศรษฐกิจของจังหวัดโดยรวมก็จะดี แต่ถ้าปีใดราคายางพาราตกต่ำ เศรษฐกิจโดยรวมก็จะซบเซาไปด้วย

อาชีพสำคัญ ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดตรังได้แก่

  • การกสิกรรม พืชที่ปลูกสำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะม่วงหิมพานต์
    สะตอ กาแฟ แตงโม ถั่วลิสง ผักต่าง ๆ
  • การประมง จังหวัดตรังมีอาณาเขตติดต่อกับฝั่งทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ถึง 4 อำเภอ 1
    กิ่งอำเภอ การประมงจึงเป็นอาชีพและรายได้หลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดตรัง
  • การอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เช่น
    โรงงานรมควันยาง ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตอาหารทะเลกระป๋อง ผลิตปลาบดแช่แข็ง ฯลฯ
  • การป่าไม้ ได้แก่ การเผาถ่านไม้
  • การพาณิชย์ ได้แก่ การค้าส่ง ค้าปลีก ค้ากับต่างประเทศ มีสินค้าจากผลิตผลทางการเกษตร เช่น
  • ยางแผ่นรมควัน ยางแท่งทีทีอาร์ สัตว์น้ำทะเล และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทะเล ฯลฯ

ทรัพยากรที่สำคัญของจังหวัดตรัง จำแนกตามประเภทได้ดังนี้

  •  ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ปลูกทั่วไปทุกอำเภอแต่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อำเภอปะเหลียน
  • สัตว์น้ำ จังหวัดตรังมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
    ในเขตอำเภอสิเกา อำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว และกิ่งอำเภอหาดสำราญ
    มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด
  • แร่ แร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แร่ดีบุก แร่ฟลูออไรด์ แร่ถ่านหิน และแร่แบไรท์ มีมากที่อำเภอห้วยยอด
  • ปาล์มน้ำมัน ปลูกมากที่อำเภอสิเกา และอำเภอวังวิเศษ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดกระบี่
  • รังนกมีตามเกาะต่าง ๆ ในเขตอำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา ซึ่งเอกชนได้รับสัมปทานเก็บในแต่ละปี

            การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 85 ตำบล 723 หมู่บ้าน 77  องค์การบริหารส่วนตำบล และ 22 เทศบาล ได้แก่

อำเภอตำบลหมู่บ้านเทศบาลอบต.
อำเภอเมืองตรัง14121412
อำเภอกันตัง1383113
อำเภอปะเหลียน108639
อำเภอย่านตาขาว86736
อำเภอสิเกา54034
อำเภอห้วยยอด16133514
อำเภอวังวิเศษ56815
อำเภอนาโยง65316
อำเภอรัษฎา55015
่อำเภอหาดสำราญ3223
รวม857232277

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *